ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่๓๔๔ "เมืองหมอกงามล้ำ ถ้ำแสนวิจิตร ชีวิตชาวดอย"
ตชด.ค่ายพระเจ้าตาก FM94.75




   

     พล.ต.ท.ยงเกียรติ มนปราณีต
               ผบช.ตชด. 

 
       

         พล.ต.ต.วรพัฒน์  บุญมา
           ผบก.ตชด.ภาค 3


  

         พ.ต.อ.ศุภวัฒน์ ศรีชัยชนะ
                   ผกก.ตชด.34






 













        

             















                                                





สถิติผู้เข้าชม

ร้อย ตชด. 344 ขอน้อมรำลึกถึง พระกรุณาธิคุณของสมเด็จย่า ฯ



   เนื่องในวันที่ 18 กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประเทศชาติ ซึ่งน้ำพระราชหฤทัยอันประเสริฐของพระองค์ท่านยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของราษฎรชาวไทย  และ  ตำรวจตระเวนชายแดน ร้อย ตชด.344 ขออนุญาตินำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  มารวบรวมเสนอแก่ท่านที่สนใจ เพื่อได้ร่วมกันน้อมรำลึกถึงพระกรุณาคุณของพระองค์ ท่านในโอกาสนี้

   สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เป็นพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน
   หากกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่าที่มีต่อตำรวจ โดยเฉพาะตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)   มีมากเกินบรรยาย พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง ต่อข้าราชการตำรวจทั้งปวง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อจิตใจและความรู้สึกนึกคิดของตำรวจทุกนาย จนยากจะหาสิ่งใดมาเปรียบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ ตชด. กองบังคับการตำรวจน้ำ และกองบินตำรวจ ที่ได้มีโอกาสถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ภาพฉลองพระองค์ชุดพลร่มตำรวจชายแดน ซึ่งเป็นภาพที่เสด็จฯ เยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดนถึงถิ่นฐาน รวมถึงราษฎรทั่วผืนแผ่นดินไทย ยังคงเป็นภาพที่ประจักษ์ชัดและตรึงประทับในดวงใจไทยทุกคน
 
   พระราชกรณียกิจ
ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
   สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเริ่มเสด็จพระราชดำเนินออกเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารเมื่อพ.ศ. 2507 ทุกครั้งที่เสด็จเยี่ยมประชาชนในท้องที่ห่างไกลก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงที่ตามเสด็จช่วยรักษาพยาบาลชาวบ้านที่ป่วยไข้ซึ่งพระองค์จะเสด็จไปทอดพระเนตรการปฏิบัติงานด้วยพระองค์เองทุกครั้ง อย่างไรก็ตามในแต่ละแห่งที่เสด็จเยี่ยมทรงใช้เวลาราว 3-4 ชั่วโมง ทำให้แพทย์ที่ตามเสด็จฯ เพียง 1-2 ท่าน ไม่สามารถทำการรักษาผู้ป่วยที่มีจำนวนนับร้อยได้ทัน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้ทรงมีพระราชดำริที่จัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาในพระองค์ขึ้น โดยให้ทดลองจัดตั้งขึ้นก่อนในปีพ.ศ. 2511 ซึ่งปรากฏว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
   ดังนั้นในปีถัดมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงมีพระราชปรารภถึงแนวพระราชดำริในการจัดตั้งหน่วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกรเข้ามาเป็นอาสาสมัครของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพระองค์นี้และได้จัดให้มีการประชุมอาสาสมัครเหล่านี้ขึ้นเป็นครั้งแรกที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการประชุมในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิด "หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์" หรือที่พระราชทานชื่อย่อ "พอ.สว." ขึ้น ที่นี่หน่วยแพทย์ พอ.สว. จะประกอบไปด้วยแพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นอาสาสมัครทำงานด้วยความเสียสละโดยมิได้รับเงินเดือน หรือค่าตอบแทนพิเศษอื่นใดและจะเคลื่อนที่ออกไปให้บริการตรวจรักษาชาวบ้านตามท้องถิ่นต่าง ๆ ที่กันดารห่างไกล ความเจริญเฉพาะในวันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งการออกปฏิบัติดังกล่าวเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ซึ่งในปัจจุบันคือหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
   นอกจากนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้นดังนี้
    1. มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดตั้งเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เพื่อทำขาเทียมและพระราชทานให้แก่ผู้พิการขาขาดที่ยากจนในชนบท โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และไม่คิดมูลค่า ซึ่งมูลนิธิขาเทียมฯนี้ ทรงก่อตั้งร่วมกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยพระองค์ท่านพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิมในการก่อตั้งมูลนิธิและทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์อีกด้วย
     2. มูลนิธิถันยรักษ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม
ด้านการศึกษา
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงสนพระทัยในเรื่องการศึกษาของเยาวชนในเขตชนบทเป็นอย่างมากด้วยทรงมีพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เยาวชนในชนบท มีความรู้ความคิดและสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดอันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชนบท แต่จากการเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนราษฎรในปีพ.ศ. 2507 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกลับทรงพบกับสภาพความขาดแคลน โรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ด้วยในเวลานั้นกระทรวงศึกษาธิการยังขยายเขตการศึกษาไปไม่ถึงพื้นที่ตามแนวชายแดนที่ห่างไกล ประกอบกับการสื่อสารโทรคมนาคมก็มิได้เจริญเฉกเช่นในปัจจุบัน ทั้งในเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการแทรกซึมของเหล่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเพิ่มความห่วงใยประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตแทรกซึมของผู้ก่อการร้ายอย่างยิ่ง ดังนั้นเมื่อพระองค์ทราบว่ากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้กำหนดโครงการที่จะจัดสร้างโรงเรียนชาวเขาขึ้นในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อนำไปจัดสร้างโรงเรียนจำนวน 29 แห่งภายหลังผู้มีจิตศรัทธาได้ทูลเกล้า ถวายเงินสมทบในการจัดสร้างได้อีกกว่า 185 แห่ง ไม่เพียงเท่านั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังได้ทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันมีโรงเรียนเกือบ 400 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วได้ถูกโอนเข้าไปสังกัดในส่วนงานการประถมศึกษา ส่วนที่ยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของตำรวจตระเวนชายแดนมีเพียง 170 โรงเรียน และเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเจริญพระชนมายุมากขึ้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึงทรงช่วยดูแลโครงการนี้แทน ต่อมาในปี 2503 สมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานเงินจำนวนสองแสนบาท เพื่อสร้างหอพักธรรมนิวาสที่หลังวัดมกุฎกษัตริยาราม สำหรับเป็นที่พักนักศึกษาที่ขัดสนและไม่มีที่อยู่ เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2510 เสด็จเยี่ยมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการส่วนพระองค์ โดยการนี้ได้ทรงม้าเสด็จเยี่ยมชม "สวนนอก" มี ศาสตราจารย์บรรเจิด คติการ และศาสตราจารย์ระพี สาคริก กราบทูลรายงาน โดยในขณะเสด็จอยู่ในมหาวิทยาลัยนี้ สมเด็จพระราชชนนีทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งกับผู้ติดตามว่า "...เกษตรนี้น่าอยู่จริง ๆ ฉันควรจะได้มาเยี่ยมที่นี่ตั้งนานแล้ว.."[51]
   ทุกครั้งที่สมเด็จพระบรมราชชนนีเสด็จเยี่ยมพสกนิกรตามจังหวัดต่าง ๆ ได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวของต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วนำไปพระราชทานแก่ประชาชนตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น พระราชทานเสื้อยืด ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวม้า และเครื่องเขียนต่างๆ แก่คณะครูประจำโรงเรียน ส่วนนักเรียนนั้นจะได้รับพระราชทานเครื่องแบบนักเรียน สมุด ดินสอ ยางลบ และอุปกรณ์การเรียนอื่น ๆ ส่วนชาวบ้านจะได้รับพระราชทานผ้าห่ม ผ้าขาวม้า ผ้าถุง ด้ายดำ ด้ายขาว และเข็มเย็บผ้า ยาตำราหลวง อาหารกระป๋อง และอาหารแห้งต่าง ๆ สำหรับเด็ก ๆ จะได้รับพระราชทานของเล่นที่เหมาะกับเพศและวัย เช่น เครื่องเขย่ากรุ๋งกริ๋ง แตรรถเล็ก ๆ และตุ๊กตาสวมเสื้อกระโปรง เป็นต้น
 
ด้านสังคมสงเคราะห์
   สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์มาตั้งแต่สมัยที่พระองค์มีพระราชอิสริยยศเป็นหม่อมสังวาลย์ ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า สตรีไทยที่เป็นแม่บ้านก็สามารถจะให้ความช่วยเหลือในกิจการสังคมสงเคราะห์ได้ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้นในปีพ.ศ. 2475 ขณะที่พระองค์พระประทับอยู่ ณ พระตำหนักใหม่ในวังสระปทุม เมื่อพระราชโอรสธิดาเจริญพระชนมายุมากขึ้น และทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนทุกพระองค์แล้ว ทรงมีเวลาว่าง จึงทรงตั้งคณะเย็บผ้าตามแบบสตรีอเมริกันขึ้น มีสมาชิกประกอบด้วยผู้ที่ทรงคุ้นเคย และสุภาพสตรีชาวต่างประเทศอีกหลายท่าน ซึ่งเป็นภริยาของนักการศึกษา สอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมิชชันนารี คณะเย็บผ้าเริ่มด้วยการเย็บเสื้อของตัวเอง ต่อมาได้เย็บเสื้อผ้าให้เด็กอนาถาตามโรงพยาบาล
   ต่อมาในปีพ.ศ. 2510 ทรงตั้งมูลนิธิสงเคราะห์ตำรวจตระเวนชายแดนและครอบครัว ได้พระราชทานทุนริเริ่มเป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านบาท และทรงรับมูลนิธินี้ไว้ในพระอุปถัมภ์ พ.ศ. 2511 ได้ทรงรับมูลนิธิชีวิตใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ไว้ในพระอุปถัมภ์ มูลนิธินี้มีวัตถุประสงค์จะช่วยจัดตั้งหมู่บ้านตามชนบทของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ที่หายป่วยจากโรคเรื้อนและโรคจิต มีที่ดินบ้านเรือนของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมการประกอบอาชีพของบุคคลเหล่านี้ให้มีงานทำ มีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขตามควรแก่อัตภาพ
    พระราชทรัพย์ที่พระราชทานช่วยเหลือสมาคม มูลนิธิ และหน่วยงานต่าง ๆ มาจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และจากการขายของฝีพระหัตถ์เพื่อการกุศล ทรงริเริ่มทำบัตรอวยพรความสุขในโอกาสต่างๆ แต่งด้วยดอกไม้ทับแห้งแปลกตา พระราชทานให้ขายเป็นรายได้แก่การกุศล โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าหลวงช่วยกันทำไม้กวาดป่านศรนารายณ์หรือแปลงศรนารายณ์ เพื่อขายนำเงินเข้าการกุศล เนื่องจากทรงใช้ป่านย้อมสีสวยๆ มีประโยชน์ทั้งในแง่ใช้สอยและการตกแต่ง จึงมีผู้สั่งจองกันมาก แปลงศรนารายณ์นี้ทำรายได้ดีมาก ได้พระราชทานเงินรายได้แก่มูลนิธิช่วยคนโรคเรื้อน จังหวัดลำปาง
 
ในด้านการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชูปถัมภ์และทรงจำหน่ายดอกป๊อปปี้ด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นรายได้สงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก
 
ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน 30 ปี มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1000 เมตร โดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า "บ้านที่ดอยตุง" พระองค์ทรงพระราชดำริที่ว่า "ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง" เป็นพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงต้องการทอดพระเนตรเห็นความเขียวชอุ่มและความสมบูรณ์ของสภาพป่าบนดอยตุงพระราชดำรินี้รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นจึงได้ก่อตั้งโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น ในปี พ.ศ. 2531 ทรงพัฒนาดอยตุง และส่งเสริมงานให้ชาวเขาอีกด้วย โดยทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง และทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก และทรงตั้งโครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กล้วยไม้ เห็ดหลินจือ สตรอเบอรี่ และจัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
 
        จากพระราชอุตสาหดังกล่าว และโครงการที่ยังมิได้นำเสนอขึ้นมาข้างต้นนี้ ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม พระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการปลูกป่าและพัฒนาความรู้ให้แก่ชาวบ้านบนดอยตุงนี้เอง ทำให้สภาพป่าบนดอยตุงมีความสมบูรณ์ขึ้นมาได้ความสำเร็จของโครงการพัฒนาดอยตุงในครั้งนี้ ได้จุดประกายให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจนหมดสภาพ ความเป็นป่าได้เกิดชาวบ้านหันมาให้ความร่วมมือกับราชการเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าอย่างเป็นระบบ ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่า จากชาวไทยบนพื้นราบ หรือ แม่ฟ้าหลวง จากชาวไทยภูเขา

     สำหรับที่มาของคําว่า “สมเด็จย่า” มีเรื่องเล่าว่า แม้ ตชด.ชั้นผู้น้อย พระองค์ท่านก็เมตตาเหมือน
ลูกหลาน ทําผิดไปท่านก็ดุเหมือนลูกหลาน ครั้งหนึ่ง พล.ต.ต. กระจ่าง เกิดผล ท่านเป็นผู้บัญชาการ ตชด.ได้ไปตรวจเยี่ยมการรับเสด็จในพื้นที่ ท่านก็ซักซ้อมการขานพระนามให้ถูกต้อง ได้ไปถามตํารวจชั้นผู้น้อยว่า “รู้ไหม ใครจะเสด็จฯ” ตชด.คนนั้นก็ตอบว่า “ทราบครับ สมเด็จย่า จะเสด็จฯ” พระองค์ท่านก็ทรงรับสั่งว่า “ตชด. ทุกคนเป็นหลานของพระองค์” และบางทีตํารวจชั้นผู้ใหญ่ก็บอกว่า “เอ๊ะ เรื่องอะไรไปอาจเอื้อม” แต่เมื่อสมเด็จย่าท่านทราบ ก็มิได้คัดค้าน ก็รับสั่งว่า “เออ ฉันเป็นย่าเขาก็แล้วกัน” และก็เป็นเรื่องเล่าขานต่อๆ กันจนทุกวันนี้ได้ใช้กันอยู่   จึงนับเป็นพระเมตตาอย่างยิ่งต่อปวงข้าราชตำรวจตระเวนชายทุกนาย สมควรพึงระลึกและช่วยกันสานต่องานในพระดำริฯ ที่ทรงได้สร้างใว้ไห้มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่  รัชกาลที่ 10



 

ทรงพระเจริญ




วิสัยทัศน์ พันธกิจ ผลสัมฤทธิ์ และเป้าหมายหน่วยงาน ของส านักงานต ารวจแห่งชาติ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562






  

พ.ต.ท.ฐัตพล  สายโรจน์
ผบ.ร้อย ตชด.๓๔๔



ร.ต.อ.ธวัช ปั้นเหน่ง
รอง ผบ.ร้อย ตชด.๓๔๔


ร.ต.ท.นัทธพงศ์ บุญถนอม
ผบ.มว.ตชด.๓๔๔๓